งานสำรวจจัดทำแผนที่ภูมิประเทศและงาน GIS

การสำรวจแผนที่ภูมิประเทศ คือการแสดงภาพ ตำแหน่ง รายละเอียดต่างๆที่ปรากฏบนพื้นผิวของพื้นที่โครงการที่เราสำรวจ ลงในแบบด้วยขนาดย่อส่วนหรือมาตราส่วน (Scale) ที่เหมาะสม โดยแทนสิ่งต่างๆด้วยสัญลักษณ์เครื่องหมาย (Symbols) และชนิดลายเส้น (Line types) ซึ่งอ้างอิงกับระบบพิกัดที่ใช้ในการสำรวจ

     

ในการจัดทำโครงการก่อสร้าง ไม่ว่าพื้นที่ใหญ่หรือเล็ก การสำรวจแผนที่จะมีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของงานทั้งหมด เพราะถ้าไม่ทราบขนาดที่แท้จริงของพื้นที่ก็จะไม่สามารถกำหนดขนาดของสิ่งปลูกสร้างได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ในการสำรวจแผนที่นอกจากจะได้ขนาดของพื้นที่แล้วยังทราบถึงรายละเอียดรอบด้านของพื้นที่โครงการเพื่อนำมาทำการกำหนดระยะร่นของสิ่งปลูกสร้าง ตำแหน่งระบบสาธารณูปโภค ความลึก เพื่อออกแบบการเชื่อมต่อ ตำแหน่งต้นไม้ อาคารเดิม ถนนโดยรอบ ความสูงต่างความลาดชันของพื้นที่ สามารถนำมาคำนวณปริมาตรดินตัดหรือดินถม เป็นต้น 
 
     
 
ทางบริษัทฯ จะให้บริการงานสำรวจและจัดทำแผนที่ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย โดยสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
 
  1. สำรวจแผนที่ด้วยกล้อง Total Station and GNSS RTK (Topographic Map)
  2. Asbuilt Drawing ด้วย 3D Scan  (Scan to BIM) โดยใช้เครื่อง 3D Laser Scanner (Riegl VZ-1000, Faro X-330)
  3. สำรวจแผนที่อากาศยานไร้คนขับ (LiDAR UAV)
  4. สำรวจแผนที่ขนาดใหญ่ด้วย Airborne Lidar
  5. สำรวจในทะเลเพื่อหาความลึกและกายภาพของท้องทะเล (Bathymetric, Sub Bottom Profiler, Side Scan Sonar, Magnetometer)
  6. งานสำรวจเพื่อการก่อสร้าง (Construction survey)
  7. งานสำรวจหมุดโครงข่ายด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (GNSS Static Survey)
 
     

      

     

     

     
 
โดยงานสำรวจนี้ ทางบริษัทจะจัดส่งในรูปแบบดิจิตอลเพื่อให้ลูกค้าสามารถนำไปใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและสามารถปรับรูปแบบของข้อมูลให้ตรงตามความต้องการได้
 
ตรวจสอบหมุดหลักเขต จัดทำวงรอบ เก็บรายละเอียด งานสำนักงาน
ทำการเดินตรวจสอบหมุดหลักเขตและรังวัดหมุดหลักเขตที่ดิน พร้อมทั้งคำนวณค่าพิกัด มุม ระยะ และพื้นที่ ตามที่เจ้าของโครงการแสดงยืนยัน ดำเนินการสำรวจหมุดวงรอบเพื่อทำการรังวัดค่าพิกัดมนระบบ 3 มิติ ดำเนินการสำรวจเก็บรายละเอียดในสนาม  นำข้อมูลที่ได้จากในสนามมาจัดทำแบบแผนที่ภูมิประเทศในรูปแบบของ AutoCAD
 
     

     

     

งานสำรวจสภาพผิวทางด้วยรถตรวจสภาพผิวทางระบบ LCMS (Laser Crack Measurement System)
 
ทางบริษัทฯ มีรถสำรวจสภาพผิวทางที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของสายทางได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว โดยรถสำรวจสามารถวิ่งสำรวจได้ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. มีเลเซอร์ที่สามารถสแกนได้ถึง 4,096 จุด โดยเลเซอร์ 1 ตัว จะสแกนพื้นที่ถนนได้ในความกว้าง 2 เมตร ทุกระยะ 1 มิลลิเมตร สามารถตรวจวัดและคำนวณข้อมูลที่ได้จากการสำรวจให้เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM E950, ASTM E1845 ได้ในครั้งเดียว
 
   
ข้อมูลที่จัดเก็บได้มีดังนี้
 
  1. ค่าดัชนีความเรียบของผิวทาง (International Roughness Index)
  2. ค่าความลึกของร่องล้อ (Rutting)
  3. ค่าความขรุขระของผิวทาง (Texture Depth)
  4. ค่าพิกัดของรถสำรวจจาก DGPS โดยมีความละเอียดถึง +/- 1 เมตร
  5. ข้อมูลจาก Laser ที่สามารถแสดงผิวทางและนำมาวิเคราะห์ความเสียหายผิวทางแบบอัตโนมัติ
  6. ภาพถ่ายสภาพในเขตทาง (Asset View)
  7. ระยะทางสำรวจจาก HRDMI (High-Resolution Distance Measurement Instrument)
 
โดยข้อมูลทั้งหมดที่ทำการสำรวจมาจะมีความสัมพันธ์กัน และเมื่อนำมาสู่โปรแกรม ประมวลผลสามารถที่จะวัดระยะพื้นที่และค่าพิกัดได้บนภาพที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที
 
     

          
 

งานสำรวจความฝืดของผิวทาง (Friction Tester)
 
ความปลอดภัยในระบบขนส่งทางถนนและผิวทางวิ่งของอากาศยาน ค่าความฝืดของผิวทางจะเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะบอกว่าผิวทางกับยางของพาหนะมีความสัมพันธ์อย่างไร ทางบริษัทฯ มีรถที่ใช้ในการสำรวจค่าความฝืดของผิวทางยี่ห้อ ASFT รุ่น T-10 ให้บริการ การทดสอบนี้ได้จำลองสภาพผิวจราจรที่เปียกโดยการฉีดน้ำหนา 1 มิลลิเมตร ในขณะทดสอบ และทำการหน่วงการหมุนของล้อทดสอบลงเพื่อวัดค่าในความเร็วที่สม่ำเสมอ ซึ่งสามารถที่จะทำการสำรวจได้อย่างต่อเนื่องตลอดเส้นทาง และได้ตามมาตรฐาน ISO 8349 
 


     

งานจัดทำระบบภูมิสารสนเทศ (Geographic Information System)
 
ทางบริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำแผนที่มายาวนานและสามารถที่จะนำข้อมูลต่าง ๆ มาแสดงผลร่วมกับแผนที่เพื่อแสดงผลในรูปแบบภูมิสารสนเทศ โดยมีวิศวกร นักภูมิศาสตร์ และโปรแกรมเมอร์ คอยให้คำปรึกษากับลูกค้าอย่างใกล้ชิด ผลงานที่ผ่านมาได้จัดทำให้หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กรมเจ้าท่า กรมทางหลวง กรมการบินพลเรือน ฯลฯ

งานจัดทำโปรแกรมฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานทางด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค (STS-DMS)
 
ในการบันทึกข้อมูลของการตรวจวัดทางด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิคมีการใช้โปรแกรมจากผู้ผลิตเครื่องมือที่มาจากต่างประเทศแต่มีข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนรูปแบบของรายงานและการจะเลือกดูข้อมูลของแต่ละเครื่องมือที่ทำการติดตั้ง ทางบริษัทฯ จึงได้ทำการพัฒนาโปรแกรมที่สามารถนำเครื่องมือตรวจวัดของแต่ละชนิดและข้อมูลการสำรวจในสนาม เช่น การสำรวจการทรุดตัวของอาคาร (Building Settlement) มาทำการจัดรวบรวมให้อยู่ในชุดข้อมูลเดียวกัน ทั้งนี้ เรายังสามารถที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบของรายงานการแสดงผลทางด้านแผนภูมิ (Graph) ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ 
รูปเพิ่มเติม