หน่วยธุรกิจตรวจวัดทางวิศวกรรมโยธา
        
ลูกค้าของเรามักถามว่า “ทำไมถึงต้องมีงานตรวจวัด แล้วค่าที่วัดได้เอาไปทำอะไร” คำตอบขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของโครงการ ซึ่งทั่ว ๆ ไปแล้ว สำหรับโครงการก่อสร้างส่วนใหญ่ ช่วงเวลาที่สำคัญที่ต้องการงานตรวจวัด ก็คือระหว่างงานฐานราก โดยในช่วงเวลานี้งานก่อสร้างจะต้องเจอดินที่มีคุณสมบัติที่ซับซ้อน ไม่แน่นอนและดินก็ไม่ใช่วัสดุที่ผลิตโดยมนุษย์ การออกแบบ คำนวณและก่อสร้างบนวัสดุดินจึงเป็นเรื่องยากและเกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนสูง 
 
งานตรวจวัดจะเป็นข้อมูลให้ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษาหรือผู้รับเหมา นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ใช้ควบคุมงานก่อสร้าง ใช้เพื่อตรวจสอบความมั่นคงของระบบกำแพงกันดินและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่อยู่ติดกับโครงการฯ เป็นต้น
 
วัตถุประสงค์
 
ประโยชน์ที่ได้จากเครื่องมือตรวจวัด:
  • การตรวจสอบสมมติฐานการออกแบบหรือรายการคำนวณ ตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบการเคลื่อนตัวในแนวราบของกำแพงกันดินระหว่างค่าการออกแบบกับการวัดจริง ผู้ออกแบบสามารถใช้ข้อมูลเพื่ออัปเดตพารามิเตอร์การคำนวณได้
  • การควบคุมประสิทธิภาพการก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น ผู้ออกแบบสามารถระบุค่าระดับการแจ้งเตือนของข้อมูลการวัดสำหรับที่ปรึกษาโครงการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการก่อสร้างของผู้รับเหมา
  • เตือน (warning) หรือทำแผนแก้ไข (Action plan) ตัวอย่างเช่น การวัดค่าการเคลื่อนตัวของกำแพงกันดินหรือวัดค่าการทรุดตัวของบ้านข้างเคียง โดยหากผลการตรวจวัดมีค่าเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ ผู้ออกแบบหรือที่ปรึกษาสามารถกำหนดแผนแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
  • ปรับปรุงวิธีการก่อสร้างเพื่อลดผลกระทบโดยใช้ข้อมูลการตรวจสอบเหล่านี้

ทำไมลูกค้าถึงเลือกใช้บริการของเรา
 
  • เรามีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการติดตั้งและตรวจวัดเครื่องมือทางธรณีเทคนิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า MRT หลายแห่งในประเทศไทย
  • เราสามารถเสนอโปรแกรมตรวจสอบที่เหมาะสมกับเงื่อนไขโครงการ
  • เราเป็นบริษัทวิศวกรรมโยธา-ธรณีเทคนิค ดังนั้นเราจึงมีความเชี่ยวชาญในการประมวลผลและตรวจสอบข้อมูลเครื่องมือวัดทางธรณีเทคนิค
  • เราใช้ STSMonitech® ซอฟต์แวร์ เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลบนเว็บ ลูกค้าสามารถรับข้อมูลการตรวจสอบได้ทุกที่ทุกเวลาโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์บนพีซี แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน
 


รูปแสดง การแสดงผลการตรวจวัดแบบ Real-Time บนซอฟต์แวร์ STSMonitech®
 

บริการติดตั้งและตรวจวัดเครื่องมือทางวิศวกรรมโยธา (Instrument Monitoring System)
 
  • Inclinometer system สำหรับการตรวจวัดค่าการเคลื่อนในแนวราบของโครงสร้างกำแพงกันดินหรือดิน
 
       

  • Piezometer เป็นเซนเซอร์สำหรับการตรวจวัดแรงดันน้ำในดิน (pore water pressure)
 

  • Observation Wells สำหรับวัดระดับน้ำใต้ดิน
 
     

  • Extensometer สำหรับวัดค่าการทรุดตัวหรือลอยตัวของดินในระดับลึก หากจุดตรวจวัด 1 จุดต่อตำแหน่งก็จะเป็นอุปกรณ์ Rod Extensometer หรือหากเป็นจุดตรวจวัดหลายจุดต่อตำแหน่ง ก็จะเป็นอุปกรณ์ Spider Magnetic
 

  • Tiltmeter สำหรับตรวจวัดการเอียงที่เปลี่ยนไปของโครงสร้าง
 
   

  • Crack Gauge สำหรับการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงความกว้างรอยร้าว
 

  • Strain Gauge สำหรับการตรวจวัดความเครียดของเหล็กและคอนกรีต โดยมีบริการติดตั้งเกจวัดความเครียดชนิดความต้านทานทางไฟฟ้า (Electrical Resistance Strain Gauge) และเกจวัดความเครียดชนิดลวดสั่น (Vibrating Wire Strain Gauge)
 

  • Building and ground settlement mark สำหรับการตรวจวัดการทรุดตัวของอาคาร, โครงสร้างหรือพื้นดิน โดยกล้องระดับชนิดความแม่นยำสูง (Precise leveling instrument)
       

  • Precise total station สำหรับการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของอาคารหรือโครงสร้างแบบสามมิติ (3D) โดยกล้องโทเทิ้ลสเตชันชนิดความแม่นสูง
 
          

  • Thermocouple สำหรับการตรวจสอบอุณหภูมิในงานเทคอนกรีตขนาดใหญ่
 
     

  • Data logger สำหรับการอ่านและบันทึกข้อมูลอัตโนมัติจากเซ็นเซอร์ 
 
     

  • STSMonitech® เป็นซอฟต์แวร์ ระบบจัดการฐานข้อมูล โดยผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลหรือกราฟผลการตรวจวัด ได้ทุกที่และทุกเวลาผ่านทางเว็บเบราเซอร์บนคอมพิวเตอร์ มือถือหรือแท็ปเล็ต

  • Vibration monitoring สำหรับการตรวจวัดความสั่นสะเทือน  การสั่นสะเทือนที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักร การทำงานของเครื่องจักรหนัก การระเบิด กิจกรรมก่อสร้างที่อาจทำให้เกิดการรบกวนต่อมนุษย์ การทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่มีความละเอียดอ่อน การวัดการสั่นสะเทือนจึงจำเป็นเพื่อตรวจสอบความสั่นสะเทือนจากการทำงานข้างต้น โดยสามารถนำค่ามาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานการสั่นสะเทือน เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการทำงานหรือการก่อสร้างต่าง ๆ
 
          
 

  • Sound level monitoring สำหรับการตรวจวัดระดับเสียง  เพื่อตรวจวัดค่าระดับเสียงมากสุดและเฉลี่ยในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงตามประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสามารถใช้เตือนให้เกิดการปรับปรุงวิธีและขั้นตอนการก่อสร้างให้เหมาะสม และอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
 

  • Dust monitoring station สำหรับการตรวจวัดฝุ่นในอากาศ เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศ-พารามิเตอร์ฝุ่นละอองรวม (TSP), ฝุ่นที่มีความละเอียด PM10, PM4, PM2.5 และ PM1 ในช่วงระหว่างงานก่อสร้าง
 

 
 
บริการทดสอบฐานราก (Foundation Testing)
 
  • Plate bearing test 
ในการออกแบบฐานรากตื้น หรือ พื้นผิวถนน วิศวกรออกแบบจำเป็นที่จะต้องทราบค่าการรับน้ำหนักบรรทุกของดินบริเวณนั้น การทดสอบ Plate Bearing Test เป็นการทดสอบในสนามที่ทำให้ทราบถึงค่าการรับน้ำหนักบรรทุกของดินโดยตรง
 

  • Field CBR test 
การทดสอบหาค่าดัชนี CBR หรือ California Bearing Ratio Test เป็นค่าดัชนีที่ชี้ถึงความแน่น และคุณภาพของวัสดุ ใช้วิธีทดสอบโดยตรงในสนาม หรือ Field Test ตามวิธีการและขั้นตอนในมาตรฐาน ASTM D4429-93
 

  • LWD : Light Weight Deflectometer
การทดสอบ LWD เป็นการทดสอบสำหรับควบคุมคุณภาพการก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่จะใช้ในงานฐานรากตื้น งานถนน และงานปรับปรุงคุณภาพดิน ซึ่งผลที่ได้จากการทดสอบ LWD คือค่ากำลังรับน้ำหนักของดิน และระดับความหนาแน่นของดิน 
 

  • Kunzel stab test 
การตอกหยั่งชั้นดินฐานรากด้วยหัวหยั่ง Kunzelstab เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้ในการทดสอบความแข็งแรง และความหนาแน่นของชั้นดินฐานราก รวมทั้งสามารถใช้ในการประเมินค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นดินฐานราก