หน่วยธุรกิจติดตั้งและตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดทางธรณีเทคนิค
เป็นสายงานที่มีความสำคัญในด้านวิศวกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมวลดินและโครงสร้างในโครงการก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับ งานขุด งานถม งานอุโมงค์ และงานตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อน (Dam Instruments) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
-
เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของพื้นที่ทำงาน (Site Investigation)
-
เพื่อตรวจสอบการออกแบบ (Design Verification)
-
เพื่อควบคุมงานก่อสร้าง (Construction control)
-
เพื่อควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
-
เพื่อความปลอดภัย (Safety)
-
เพื่อความคุ้มครองทางกฎหมาย (Legal Protection)
-
เพื่อประสิทธิภาพการทำงาน (Performance)
2. งานบริการติดตั้งเครื่องมือวัดทางธรณีเทคนิค
3. งานบริการติดตั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนแบบอัตโนมัติ
4. งานระบบจัดการฐานข้อมูล
1. งานขายเครื่องมือวัดทางธรณีเทคนิค
______________________________________________________________________ Slope Indicator (DGSI)
- เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของดิน (Inclinometer)
- เครื่องมือวัดการยืดหดตัวของดิน (Extensometer)
- เครื่องมือวัดแรงดันน้ำใต้ดิน (Piezometer)
- เครื่องมือวัดการเอียงตัวของโครงสร้าง (Tilt Meter)
- เครื่องมือวัดแรงดันดิน (Pressure Cell)
_______________________________________________________________________ Campbell Scientific Inc.
- เครื่องตรวจวัดและบันทึกข้อมูลแบบอัตโนมัติ (Data Logger)
- CR1000X
- CR8
- CR6
- CR300
_______________________________________________________________________ World Sensing
- Wireless Tiltmeter
- laser distance meter
- VW Node
- Gateway
_______________________________________________________________________ CEP Services Pte Ltd.
- Water Level Indicator
_______________________________________________________________________ San Lien Technology Corp.
- Load cell
- VW HUB
- Rebar Strain Gauge
- Crack Width Gauge
- Plus Tell Tale
2. งานบริการติดตั้งเครื่องมือวัดทางธรณีเทคนิค
หน่วยธุรกิจเครื่องมือวัดทางธรณีเทคนิค มีทีมงานที่มีประสบการณ์จากการติดตั้งอุปกรณ์ ในหลายรูปแบบและลักษณะงาน มีขั้นตอนวิธีการติดตั้งสำหรับเครื่องมือแต่ละชนิด เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพงานติดตั้งได้อย่างมีมาตรฐาน และในส่วนงานตรวจวัดเครื่องมือทางธรณีเทคนิค มีเทคโนโลยีและประสบการณ์การตรวจวัดในสนามด้วยทีมงานมืออาชีพ นอกจากนี้ยังมีระบบการตรวจวัด และบันทึกข้อมูลอัตโนมัติพร้อมระบบรับส่งข้อมูลระยะไกล รวมถึงมี โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) เพื่อใช้สำหรับงานที่มีข้อมูลการตรวจวัดจำนวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
-
บ่อสังเกตการณ์ระดับน้ำ (Observation Well) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดระดับน้ำใต้ดิน ในบ่อหรือหลุมเจาะ เพื่อตรวจสอบหาค่าระดับน้ำใต้ดิน (Ground Water Table)
- เครื่องมือวัดแรงดันน้ำใต้ดิน (Piezometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจวัดค่าแรงดันน้ำ (Pore Water Pressure) ในชั้นดิน ณ ระดับความลึกต่างๆ แบบที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ แบบท่อปลายเปิด (Standpipe Piezometer), แบบระบบลม (Pneumatic Piezometer) และแบบระบบไฟฟ้า (Electric Piezometer)
2.2 เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของดิน เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของดิน เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจวัดการเคลื่อนตัวของมวลดิน ในแนวราบหรือแนวดิ่ง ได้แก่
- แผ่นวัดการทรุดตัวของผิวดิน (Surface Settlement Point) เป็นเครื่องมือวัดการทรุดตัวที่ผิวดินโดยการวางแผ่นเหล็กที่ยึดติดกับท่อเหล็กตรงตำแหน่งที่ต้องการตรวจวัดและใช้กล้องระดับวัดระดับปลายท่อเพื่อหาค่าการทรุดตัว
-
เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของดิน (Inclinometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดการเคลื่อนตัวของมวลดินที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน สามารถติดตั้งท่อได้ 2 รูปแบบ คือ ติดตั้งท่อไว้ในแนวดิ่งเพื่อวัดการเคลื่อนตัวด้านข้างของมวลดิน (Lateral Movement) และติดตั้งท่อไว้ในแนวนอนเพื่อวัดการเคลื่อนตัวของมวลดินในแนวดิ่ง (Vertical Movement)ส่วนประกอบของเครื่องมือจะประกอบไปด้วยท่อวัดการเอียงตัว (Inclinometer Casing) เป็นท่อพิเศษที่มีร่อง 4 ร่องด้านในตั้งฉากกันเพื่อให้หัววัดการเอียงตัว (Inclinometer Probe) วิ่งขึ้น-ลงตามร่องนี้โดยการตรวจวัด จะหย่อนหัววัดลงไปในท่อจนถึงก้นท่อแล้วค่อยๆ ดึงขึ้น และบันทึกค่าความเอียงทุกๆ ระยะ 0.5 เมตรในขณะที่ดึงหัววัดกลับขึ้นมา
- เครื่องมือวัดการยืดหดตัวของดิน (Extensometer) เป็นเครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของชั้นดินในแนวดิ่งที่ใช้ติดตั้งในหลุมเจาะหรือในดินถม โดยสามารถวัดการเคลื่อนตัวของดินที่ระดับความลึกต่างๆ มีหลายระบบให้เลือกใช้ ได้แก่ ระบบแม่เหล็กเป็นตัววัด (Magnetic Extensometer), ระบบที่ใช้วงแหวนรัดท่อเป็นตัววัด (Sondex System) และระบบที่ใช้แท่งโลหะหรือไฟเบอร์กลาส (Rod Extensometer)
2.3 เครื่องมือวัดการเอียงตัวของโครงสร้าง (Tilt Meter) เป็นเครื่องมือใช้สำหรับตรวจวัดการเอียงตัวของอาคารและโครงสร้างต่างๆ ได้แก่
-
เครื่องมือวัดการเอียงตัว (Tilt meter) เป็นเครื่องมือใช้สำหรับตรวจวัดการเอียงตัวของอาคารและโครงสร้างต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยแผ่นวัดการเอียงตัว (Tilt Plate), Portable Tiltmeter และ Readout Unit โดย Portable Tiltmeter ใช้หลักการของแรงสมดุลแบบอัตราเร่ง (Force balanced servo-accelerometer) ในการตรวจวัดการเอียงตัว โดยตัว accelerometer จะติดตั้งอยู่ในกระบอกที่ยึดติดกับโครงโลหะที่มีแผ่นหน้าเรียบและมีตำแหน่งที่แน่นอน โดยแผ่นหน้าด้านล่างจะใช้สำหรับ Tilt Plate ที่ติดตั้งในแนวราบ (Horizontal) และแผ่นหน้าด้านข้างจะใช้สำหรับ Tilt Plate ที่ติดตั้งในแนวตั้ง (Vertical) ส่วนตัว Tilt Plate นั้นจะถูกยึดติดกับโครงสร้างตามตำแหน่งที่กำหนด การเปลี่ยนแปลงของการเอียงตัวของอาคารและโครงสร้างต่างๆ สามารถหาได้จากการเปรียบเทียบ ค่าที่อ่านได้ครั้งหลังสุด (Current Reading) กับค่าที่อ่านครั้งแรก (Initial Reading)
- เครื่องมือวัดการเอียงตัวแบบ Electro Level (EL Tilt Meter) เป็นเครื่องมือใช้สำหรับตรวจวัดการเอียงตัวของอาคารและโครงสร้างต่างๆ ด้วยระบบ Sensor ที่มีความละเอียดสูง สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของการเอียงตัวที่มีขนาดเล็กถึง 0.00028 องศา ซึ่งวิธีการติดตั้งง่าย มีขายึดแบบหมุนที่สามารถติดตั้ง EL Tilt Meter กับผนังหรือเพดาน โดยใช้ขายึดเพียงตัวเดียว การเปลี่ยนแปลงของการเอียงตัวของอาคารและโครงสร้างต่างๆ สามารถหาได้จากการเปรียบเทียบ ค่าที่อ่านได้ครั้งหลังสุด (Current Reading) กับค่าที่อ่านครั้งแรก (Initial Reading)
2.4 เครื่องมือวัดรอยแตกหรือรอยแยก เป็นเครื่องมือใช้สำหรับตรวจวัดรอยแตกหรือรอยแยกของอาคารและโครงสร้างต่างๆ ได้แก่
- เครื่องมือวัดรอยแตก (Crack Gauge) เป็นมาตรวัดการขยายตัวและการหดตัวของรอยร้าว โดยหมุดวัดระยะที่ฝังอยู่ 2 ข้างของรอยร้าว เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงระยะทางระหว่างหมุด สามารถอ่านขนาดการขยายตัวหรือการหดตัวของรอยร้าว สามารถวัดได้ละเอียดถึง 1 มิลลิเมตร เมื่ออ่านค่าด้วยเวอร์เนีย
3. งานบริการติดตั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนแบบอัตโนมัติ
เครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน คือ เครื่องมือที่ใช้ติดตั้งในตัวเขื่อนเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของเขื่อนระหว่างการก่อสร้าง และภายหลังจากการกักเก็บน้ำ โดยเขื่อนขนาดเล็ก จะนิยมใช้การตรวจวัดแบบอาศัยคนอ่านค่า(Manual Reading) ส่วนเขื่อนขนาดกลางและขนาดใหญ่ นิยมใช้การตรวจวัดแบบอัตโนมัติ (Automatic Reading)
3.1 เครื่องมือวัดระดับน้ำและแรงดันน้ำ บ่อสังเกตการณ์ระดับน้ำ (Observation Well) เพื่อตรวจสอบหาค่าระดับน้ำใต้ดิน, เครื่องมือวัดแรงดันน้ำใต้ตัวเขื่อน (Piezometer) สำหรับตรวจวัดค่าแรงดันน้ำ (Pore Water Pressure), เครื่องมือวัดระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ, เครื่องมือวัดอัตรการซึมผ่านตัวเขื่อนและฐานราก (Seepage Flowmeter)
บ่อสังสังเกตการณ์ระดับน้ำ (Observation Well) เพื่อตรวจสอบหาค่าระดับน้ำใต้ดิน
เครื่องมือวัดแรงดันน้ำใต้ตัวเขื่อน (Piezometer) สำหรับตรวจวัดค่าแรงดันน้ำ (Pore Water Pressure)
เครื่องมือวัดระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ
เครื่องมือวัดอัตรการซึมผ่านตัวเขื่อนและฐานราก (Seepage Flowmeter)
3.2 เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อน เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อนในแนวราบ เพื่อตรวจวัดการเคลื่อนตัวของมวลดินที่อยู่ลึกลงไปใต้เขื่อน (Vertical Inclinometer), In-place Inclinometer, SAA เป็นต้น
3.3 เครื่องมือวัดการทรุดตัวของเขื่อน เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของเขื่อนในแนวดิ่ง ได้แก่ Surface Settlement point เพื่อวัดการทรุดตัวพื้นผิว, Benchmark, Magnetic Extensometer, Rod Extensometer, Cross-Arm เป็นต้น
3.4 เครื่องมือตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวแบบ Accelerograph เครื่องวัดอัตราเร่งของคลื่นสั่นสะเทือน (Strong Motion Accelerograph, SMA) เป็นเครื่องมือที่ออกแบบเพื่อใช้วัดการสั่นสะเทือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าอัตราเร่งของพื้นดินในบริเวณนั้น ที่เกิดจากแผ่นดินไหว ประกอบด้วย
เครื่องบันทึกสัญญาณพร้อมเซนเซอร์ติดตั้งภายใน โปรแกรม GEODAS
3.5 เครื่องมือสำรวจอุตุนิยมวิทยา (Weather Station) เป็นระบบตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝน (Rain Gauge) เครื่องมือวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (Air Temperature & Relative Humidity), เครื่องมือวัดกระแสและทิศทางลม (Win Speed and Direction) และเครื่องมือวัดความดันอากาศ (Barometric Pressure) เครื่องมือวัดความยาวนานของแสง (Solar Radiation) และเครื่องมือวัดอัตราการระเหย (Evaporation Gauge)
เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝน (Rain Gauge)
เครื่องมือวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (Air Temperature & Relative Humidity)
เครื่องมือวัดกระแสและทิศทางลม (Win Speed and Direction )
เครื่องมือวัดอัตราการระเหย (Evaporation Gauge) ของอากาศ
3.6. ระบบตรวจวัดอัตโนมัติ และส่งข้อมูลระยะไกล เครื่องบันทึกข้อมูลแบบอัตโนมัติ (Datalogger) จะติดตั้งไว้สำหรับเก็บข้อมูลของเครื่องมือต่างๆ เชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ขยายช่องสัญญาณ (Multiplexer) และเครื่องบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ Datalogger สามารถต่อเข้ากับระบบรับส่งสัญญาณทางไกลโดยผ่าน Wireless Lan Module เพื่อส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานซึ่งจะติดตั้งโปรแกรม STS-DMS ไว้เพื่อแปลผลข้อมูล
4. งานระบบจัดการฐานข้อมูล
เป็นระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลงานติดตั้งและตรวจวัดเครื่องมือทางธรณีเทคนิค สำหรับโครงการที่ต้องการตรวจสอบผลระยะยาว โดยการเก็บข้อมูลด้วยเครื่องตรวจวัดและบันทึกข้อมูลแบบอัตโนมัติ ( Data Logger) จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือโครงข่ายไร้สาย ไปจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ Server โดยสามารถเรียกดูข้อมูลผ่านหน้า Website ของโครงการ หรือโทรศัพท์มือถือได้เมื่อต้องการ
STS-DMS เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลและแสดงผลของโครงการก่อสร้างต่างๆ เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โครงการสายสีน้ำเงิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู
i-Monitor เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลและแสดงผลของเขื่อนต่างๆ เช่น เขื่อนกิ่วคอหมา เขื่อนกระเสียว เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนห้วยช้าง เขื่อนแม่ต๋ำ เขื่อนดอยงู เขื่อนคลองตรอน เป็นต้น
รูปเพิ่มเติม