งานสำรวจและทดสอบโครงสร้างพื้นฐาน  
 
หน่วยธุรกิจสำรวจและทดสอบโครงสร้างพื้นฐาน เป็นส่วนงานภายในบริษัท STS Corporation ให้บริการด้านการสำรวจและทดสอบโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมงาน 6 กลุ่ม ได้แก่
 
1. งานสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ในงานทางวิศวกรรมธรณีระดับตื้น (Engineering Geophysical Survey)
 
ข้อมูลลักษณะทางธรณีระดับตื้น ได้แก่ ลักษณะและระนาบของหน้าหิน แนวรอยเลื่อน ตำแหน่งของหินลอย เป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบฐานรากและเสาเข็มของโครงสร้างต่างๆ หรือ การประเมินขนาดและความลึกของหลุมฝังกลบวัสดุ ซึ่งการเจาะหลุมสำรวจโดยตรงสามารถทำได้อย่างจำกัด วิธีการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ มีส่วนช่วยให้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลที่สำคัญจากผลเจาะสำรวจดิน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความครอบคลุมพื้นที่ของโครงการมากขึ้น วิธีการสำรวจทางธรณีที่นิยมใช้ ได้แก่ การตรวจวัดความต้านไฟฟ้าในชั้นดินแบบ 2 มิติ (2D resistivity imaging Method) การทดสอบด้วยคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Method) การสำรวจด้วยคลื่นเรดาร์ (Ground penetrating radar, GPR) ลักษณะของวิธีการสำรวจ และผลการสำรวจแสดงดังรูป 
 
  •  การตรวจวัดความต้านทานไฟฟ้าในชั้นดินแบบ 2 มิติ (2D Resistivity Imaging)
 
      
  
 
     

 
  • การสำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Test)
     
 
     

 
  • การสำรวจด้วยคลื่นเรดาร์ (Ground Penetrating Radar, GPR)
 
2. งานสำรวจลวดอัดแรงและเหล็กเสริมในโครงสร้างด้วยคลื่นเรดาร์ (Ground penetrating radar [GPR] for tendon & rebar survey)
 
ตำแหน่งลวดอัดแรง ในระบบพื้นคอนกรีตอัดแรง หรือ โพสเทนชัน (Post-tensioned concrete slab) เป็นข้อมูลที่สำคัญในการออกแบบตำแหน่งงานระบบระหว่างการปรับปรุงอาคาร การสำรวจโครงสร้างด้วยคลื่นเรดาร์ สามารถระบุตำแหน่งของลวดอัดแรงได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้สามารถใช้ในการระบุตำแหน่งของเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป โดยมีความลึกของการสำรวจได้ถึง 50 เซนติเมตร  
 
  • งานสำรวจลวดอัดแรงและเหล็กเสริมในพื้นคอนกรีตอัดแรงด้วยวิธี Ground Penetrating Radar (GPR)
     

 

   

3. งานสำรวจโครงสร้างใต้ดิน และสาธารณูปโภคใต้ดินด้วยคลื่นเรดาร์ (Ground penetrating radar for underground utility survey or substructure survey)
 
การสำรวจด้วยคลื่นเรดาร์ สามารถใช้เพื่อระบุตำแหน่งของท่อใต้ดิน โครงสร้างใต้ดิน และสาธารณูปโภคใต้ดินเดิม ที่ความลึก 3 – 5 เมตร ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งมีประโยชน์ในการออกแบบโครงสร้างและฐานรากอาคารในพื้นที่ซึ่งไม่มีข้อมูลในอดีต  รวมถึงวางแผนในการก่อสร้างฐานราก หรือติดตั้งเสาเข็มในพื้นที่ซึ่งคาดว่ามีสาธารณูปโภคใต้ดิน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อระบบสาธารณูปโภคเดิม 
 
 
  • การสำรวจตำแหน่งสาธารณูปโภคใต้ดินด้วยคลื่นเรดาร์ (GPR)
 
  

 
    
 
 
4. งานสำรวจโพรงอากาศใต้พื้นด้วยคลื่นเรดาร์ (Ground penetrating radar for Void survey under existing slab)
 
การสำรวจด้วยคลื่นเรดาร์ สามารถใช้เพื่อระบุตำแหน่งและความกว้างของโพรงอากาศใต้พื้นวางบนดิน ถนน ทางหลวง ทางลาดเชิงสะพาน ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งมีประโยชน์ในการตรวจสอบพื้นที่ซึ่งคาดว่าจะมีโพรงอากาศใต้แผ่นพื้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นเนื่องจากการทรุดตัว
 
  • การสำรวจตำแหน่งโพรงอากาศใต้พื้นด้วยคลื่นเรดาร์ (GPR)
  

 

 
  

 
5. งานทดสอบประเมินความสมบูรณ์ของโครงสร้างคอนกรีต (Integrity testing for structural concrete members)
 
คุณภาพและความสมบูรณ์ของโครงสร้างคอนกรีตเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้าง สามารถตรวจสอบได้ด้วยหลายวิธีการ ตัวอย่างเช่น การทดสอบด้วยคลื่นเรดาร์ การทดสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง  (Ultrasonic test/Pundit Live) การทดสอบด้วยคลื่นความเค้นสะท้อน (Impact Echo Test) หรือการทดสอบด้วยการถ่ายภาพความร้อน (Infrared Thermography หรือ Themoscan) ซึ่งแต่ละวิธีการมีความเหมาะสมในการตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ในระดับความลึกต่างๆ กัน
 
การทดสอบด้วยคลื่นเรดาร์ และ Impact Echo test สามารถประยุกต์ใช้ในการสำรวจความหนาของผนังชั้นใต้ดิน หรือ พื้นคอนกรีตสัมผัสดิน ซึ่งไม่สามารถตรวจวัดได้โดยตรง 
  • Impact Echo Test    

 
     
 
         
  • Ground Penetrating Radar (GPR)  
   
        
           
                                                            
  • Infrared Thermography (Thermoscan)
  
 

 
  • UPT & Pundit Live
   
 
6. งานทดสอบประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างพื้นฐาน  (Infrastructure Strength Assessment)
 
โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ สะพาน ถนนทางหลวง ทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดอากาศยานภายในสนามบิน เป็นระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานสำหรับประเทศ การตรวจสอบสภาพของโครงสร้างเพื่อสำรวจสภาพความเสียหาย ประเมินความแข็งแรงและปลอดภัยในการใช้งาน และประเมินอายุการใช้งานของโครงสร้าง จึงเป็นส่วนที่มีความสำคัญ  ซึ่งมีส่วนช่วยในการวางแผนการบำรุงรักษา และวางแผนการใช้งานในอนาคต 
 
6.1 การสำรวจ และทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของสะพาน (Bridge load test)

การสำรวจและทดสอบโครงสร้างสะพาน และการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของสะพานแบบ Static load test  และแบบ Dynamic load test  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและประเมินพฤติกรรมของโครงสร้างสะพานที่มีอายุการใช้งานยาวนาน หรือสะพานมีความเสียหายทางกายภาพบางส่วน  หรือมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักจากรถบรรทุกที่จะเข้าใช้งาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประเมินเสถียรภาพของโครงสร้างสะพาน การออกแบบซ่อมแซม ปรับปรุง หรือเสริมกำลังโครงสร้าง 
 
    
 
     
 
      
 
     

 
6.2 ทดสอบความแข็งแรงของผิวทาง ทางหลวงและสนามบิน 
 
โครงสร้างทางสำหรับทางหลวง และทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยานภายในสนามบิน เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญซึ่งใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งคนและสินค้า อายุการใช้งานของโครงสร้างทางขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของโครงสร้างทาง และปริมาณการจราจร ขนาด และลักษณะน้ำหนักบรรทุกที่เข้าใช้งาน  STS ให้บริการงานทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้างทาง ซึ่งประกอบไปด้วย โปรแกรมงานสำรวจและทดสอบแบบไม่ทำลายหลายวิธีการ อาทิ งานทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธี Falling weight deflectometer (FWD) งานทดสอบประเมินความหนาของโครงสร้างทางด้วยคลื่นเรดาร์ (GPR) งานสำรวจสภาพทางกายภาพด้วยรถสำรวจ LCMS งานเจาะเก็บแท่งตัวอย่างและทดสอบคุณสมบัติวัสดุต่างๆ ร่วมกับงานวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้าง และประเมินอายุการใช้งานที่เหลือ (Remaining Service life) ตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง (ASTM, ICAO, FAA)
 
  • Falling-weight deflectometer (FWD)  
 
      

  

 
  • Ground Penetrating Radar (GPR)
    
  
 
  • รถสำรวจ LCMS (ROMDAS)